ทำอย่างไรให้เราเลี้ยงบอลได้คล่อง
สิ่งแรกที่จะทำให้เราเลี้ยงบอลคล่องแคล่วว่องไว จนกระทั่งสามารถหลบหลีกการป้องกันของคู่แข่งขัน คือ "การจัดลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง" ท่าทางที่ถูกต้องจะต้องอยู่ในท่าย่อตัว หรือถ้าจะพูดให้เกิดภาพที่ชัดเจนคือท่า "นั่งเก้าอี้" ถ้าถนัดมือขวาให้ใช้เท้าซ้ายอยู่เหนือเท้าขวา ช่องว่างระหว่างเท้ากว้างกว่าหัวไหล่ เท้าซ้ายคล่มบังบอลทำมุมประมาณ 45 องศา กับเท้าขวา (ทิศทางที่จะเลี้ยงไปถือว่าเป็นมุม 90 องศา กับลำตัวที่ยืนตรง เท้าซ้ายทำมุม 45 องศา กับด้านขวาของลำตัว) ในขณะที่หัวไหล่ทำมุมประมาณ 25 องศา ยกแขนซ่ายขึ้นในขณะที่เลี้ยงบอลช้าหรือขณะที่มีผู้ป้องกันจะเข้ามาแย่งบอล เมื่ออยู่ในลักษณะท่าทางที่ถูกต้อง ผู้ป้องกันจะไม่สามารถแย่งบอลได้ ถ้าผู้ป้องกันเข้ามาทางด้านขวามือ ผู้เลี้ยงจะหมุนตัวกลับเปลี่ยนทิศทางไปด้านซ้ายมือ โดยเปลี่ยนเลี้ยงบอลด้วยมือซ้ายและยกมือขวาขึ้นมาบังด้านหน้าไว้ ฝึกการเปลี่ยนทิศทางการพาบอล เช่น เปลี่ยนจากขวาไปซ้ายด้านหน้า เปลี่ยนจากซ้ายไปขวาด้านหน้า เปลี่ยนโดยการหมุนตัว เปลี่ยนโดยารตวัดหลัง เปลี่ยนโดยลอดระหว่างขา ฝึกเลี้ยงบอลทุกวันโดยการพยายามจับจังหวะการขึ้นลงของบอลให้มือควบคุมลูกบอลได้ตลอดเวลา เมื่อ ประมาทสั่งให้ทำอะไรมือก็ต้องทำได้เช่น ให้ไปซ้ายมือก็ต้องพาบอลไปด้านซ้าย เป็นต้น อย่าลืมนะครับการที่จะเลี้ยงบอลคล่องต้องฝึกตามวิธีการที่ถูกต้องทุกวัน
ทำอย่างไรเราจึงยืนป้องกันได้ดี
การยืนป้องกันจะต้องอยู่ในท่าย่อตัวหรือท่าสมดุล ยืนเต็มฝ่าเท้า น้ำหนักอยู่กึ่งกลางฝ่าเท้าทั้งสองข้างและให้มี ความรู้สึกว่าน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ที่ก้นคล้ายกับว่าเรานั่งบนเก้าอี้ เมื่ออยู่ในท่าย่อขณะป้องกันจะต้องมองไปที่ท้องของผู้ถือบอล ยืนห่างจากผู้ถือบอล 1 ช่วงแขน ห้ามมองที่ตาหรือบอลเด็ดขาด(เพราะอาจโดนหลอกเอาง่ายๆ) บอลจะเคลื่อนไปได้ด้วยมือโยกไปมา แต่ถ้าร่างกายเคลื่อนจะต้องมีการเคลื่อนไหวทั้งลำตัว ดังนั้นท้องจะต้องเคลื่อนไปด้วย ถ้าท้องเคลื่อนจึงค่อยเคลื่อนไปตามทิศทาง ที่ท้องเคลื่อนไป
ทำอย่างไรให้ลอยตัวในอากาศได้นานและกระโดดได้สูง
มีขอแนะนำในสิ่งที่เหมาะกับสภาพนักกีฬาในบ้านเรานะครับวิธีง่ายๆก็คือ การวิ่งเพื่อความอดทนโดยวิ่งรอบสนามอย่างน้อย 4 รอบ(1,600 เมตร) อย่างน้อย ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงค่อยเพิ่มความเร็วโดยการวิ่งระยะสั้น สลับกับการวิ่งระยะยาว ต่อมาในเดือนที่ 2 เดือนที่ 3 ควรเน้นหนักในการฝึกการกระโดด ดังนี้
1.กระโดดข้ามกล่องกระดาษซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต กระโดดเท้าคู่ไปทางด้านข้าง ซ้ายที ขวาที
2.กระโดดยกเข่าแตะอก
3.กระโดดยกส้นเท้าแตะก้น
4.กระโดดข้ามกล่องกระดาษ 4 กล่องซึ่งวางเรียงกัน โดยแต่ละกล่องห่างกัน 2 ฟุต กระโดดเท้าคู่ข้ามทีละกล่องอย่างต่อเนื่อง
5.กระโดดเอามือแตะขอบแป้นบาส
6.กระโดดอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง พยายามเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เน้นการถีบตัวกระโดดให้สูงขึ้น
แต่มีข้อแนะนำวิธีการกระโดด เพราะเห็นนักกีฬาจำนวนมากที่บาดเจ็บหัวเข่า เนื่องจากกระโดด ไม่ถูกวิธี โดยการกระโดดที่ถูกวิธีนั้นจะต้องย่อตัวทั้งก่อนกระโดด และหลังการกระโดดขึ้นไปแล้ว
เมื่อปลายเท้าแตะพื้นจะต้องย่อตัวพร้อมทั้งเหยียบพื้นเต็มเท้า ก่อนการกระโดดจะต้องย่อตัวลง (ย่อตัวนะครับไม่ใช้ก้มตัว) เขย่งส้นเท้าขึ้น จิกปลายเท้าให้แน่นแล้วถีบ ตัวขึ้นไป
เมื่อลงสู่พื้นก็ใช้ปลายเท้าลงจึงตามด้วยส้นเท้าแล้วย่อตัว อย่าใช้ส้นเท้าลงก่อนปลายเท้าเพราะจะทำให้น้ำหนักทั้งตัว ลงที่ส้นเท้าจะเจ็บส้นเท้าและอาจเป็นรอยช้ำ
เมื่อเหยียบพื้นเต็มเท้า ให้ทิ้งตัวย่อลงอย่ายืนตัวแข็ง เพราะจะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนัก และบาดเจ็บที่หัวเข่าได เมื่อฝึกทุกอย่างแล้วให้สลับฝึกทุกวันเช่น วิ่งระยะยาว วิ่งเร็ว กระโดด ความคล่องตัว
ทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถกระโดดได้สูงและลอยตัวในอากาศ ได้นานกว่าเดิมแน่นอน
1.กระโดดข้ามกล่องกระดาษซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุต กว้าง 1 ฟุต กระโดดเท้าคู่ไปทางด้านข้าง ซ้ายที ขวาที
2.กระโดดยกเข่าแตะอก
3.กระโดดยกส้นเท้าแตะก้น
4.กระโดดข้ามกล่องกระดาษ 4 กล่องซึ่งวางเรียงกัน โดยแต่ละกล่องห่างกัน 2 ฟุต กระโดดเท้าคู่ข้ามทีละกล่องอย่างต่อเนื่อง
5.กระโดดเอามือแตะขอบแป้นบาส
6.กระโดดอยู่กับที่อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง พยายามเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ เน้นการถีบตัวกระโดดให้สูงขึ้น
แต่มีข้อแนะนำวิธีการกระโดด เพราะเห็นนักกีฬาจำนวนมากที่บาดเจ็บหัวเข่า เนื่องจากกระโดด ไม่ถูกวิธี โดยการกระโดดที่ถูกวิธีนั้นจะต้องย่อตัวทั้งก่อนกระโดด และหลังการกระโดดขึ้นไปแล้ว
เมื่อปลายเท้าแตะพื้นจะต้องย่อตัวพร้อมทั้งเหยียบพื้นเต็มเท้า ก่อนการกระโดดจะต้องย่อตัวลง (ย่อตัวนะครับไม่ใช้ก้มตัว) เขย่งส้นเท้าขึ้น จิกปลายเท้าให้แน่นแล้วถีบ ตัวขึ้นไป
เมื่อลงสู่พื้นก็ใช้ปลายเท้าลงจึงตามด้วยส้นเท้าแล้วย่อตัว อย่าใช้ส้นเท้าลงก่อนปลายเท้าเพราะจะทำให้น้ำหนักทั้งตัว ลงที่ส้นเท้าจะเจ็บส้นเท้าและอาจเป็นรอยช้ำ
เมื่อเหยียบพื้นเต็มเท้า ให้ทิ้งตัวย่อลงอย่ายืนตัวแข็ง เพราะจะทำให้หัวเข่ารับน้ำหนัก และบาดเจ็บที่หัวเข่าได เมื่อฝึกทุกอย่างแล้วให้สลับฝึกทุกวันเช่น วิ่งระยะยาว วิ่งเร็ว กระโดด ความคล่องตัว
ทำเป็นประจำคุณก็จะสามารถกระโดดได้สูงและลอยตัวในอากาศ ได้นานกว่าเดิมแน่นอน
การส่งบอล
การส่งบอล (pass) ระหว่างผู้เล่น
ผู้ส่งมักส่งในจังหวะที่ก้าวไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มกำลังส่ง และอาศัยมือประคองในจังหวะที่ปล่อยลูกเพื่อช่วยเรื่องความแม่นยำ
การส่งพื้นฐานสุดแบบหนึ่งคือการส่งระดับอก (chest pass) โดยส่งโดยตรงจากอกของผู้ส่งลูกไปยังผู้รับลูก
เป็นการส่งที่รวดเร็วที่สุด
การส่งอีกแบบคือแบบ bounce pass ผู้ส่งจะส่งจากระดับอก ให้ลูกบอลกระเด้งกับพื้นที่ระยะประมาณสองในสามจากผู้ส่ง
ซึ่งลูกจะกระเด้งเข้าระดับอกของผู้รับพอดี
มีประโยชน์เวลาที่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ในจุดซึ่งอาจแย่งลูกได้หากส่งลูกธรรมดา
การส่งแบบ ข้ามหัว (overhead pass) สำหรับส่งข้ามผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
โดยจะส่งข้ามศีรษะของผู้ส่ง เล็งไปที่ระดับคางของผู้รับ
การส่งไม่จำเป็นต้องใช้กรณีที่ผู้เล่นอยู่ไกลกัน
แต่อาจจะเป็นการยื่นลูกให้ผู้เล่นคนที่อยู่ข้าง ๆ
ซึ่งกำลังเคลื่อนที่เข้าไปยังห่วงเพื่อทำคะแนนเป็นต้น
จุดสำคัญของการส่งลูกก็คือ
จะต้องไม่ให้อีกฝ่ายแย่งหรือขโมยลูกไปได้
ด้วยเหตุนี้การส่งข้ามสนามไกล ๆ ที่เรียกว่าการส่งสกิป (skip pass) ถึงใช้กับแค่บางสถานการณ์เท่านั้น
การเลี้ยงลูก
การเลี้ยงลูกเป็นบังคับให้ลูกกระเด้งกับพื้นตลอดเวลา
ผู้เล่นไม่ใช้มือตบลูกแต่จะใช้มือดันลูกไปหาพื้นแทนเนื่องจากควบคุมลูกได้ดีกว่า
เมื่อต้องเลี้ยงลูกผ่านคู่ต่อสู้ ผู้เลี้ยงลูกควรเลี้ยงให้ลูกอยู่ห่างจากผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามมากสุด
ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องเลี้ยงลูกได้ทั้งสองมือ
ด้วยการสลับมือเลี้ยงลูกผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามก็เอื้อมมือถึงลูกได้ยากขึ้น
และระหว่างที่สลับมือจะต้องเลี้ยงลูกให้ต่ำลงป้องกันการขโมยลูก ผู้เล่นอาจเปลี่ยนมือโดยเลี้ยงลูกลอดระหว่างขาหรือไขว้หลังก็ได้
ผู้เล่นที่ชำนาญสามารถเลี้ยงลูกได้โดยไม่ต้องมองลูก
ซึ่งช่วยให้มองหาเพื่อนร่วมทีมหรือโอกาสการทำแต้ม
และป้องกันการขโมยลูกจากผู้เล่นที่ยืนอยู่รอบ ๆ ได้
การชู้ต
การชู้ตเพื่อทำคะแนนนั้น วิธีการจะแตกต่างกันไปขึ้นกับผู้เล่นและสถานการณ์ ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็นเทคนิกพื้นฐานที่ใช้มากที่สุด
ผู้เล่นเอาลูกไปพักบนปลายนิ้วมือข้างที่ถนัด ให้อยู่สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย ส่วนมืออีกข้างประคองด้านข้างลูก จากนั้นก็ยืดแขนข้างที่พักลูกให้เหยียดตรงให้ลูกลอยออกจากปลายนิ้วในขณะที่บิดข้อมือลง ปกติมืออีกข้างประคองลูกเพื่อควบคุมทิศการชู้ตเท่านั้น ไม่มีส่วนในการให้แรงส่ง
ผู้เล่นมักชู้ตลูกให้ลูกหมุนแบบแบ็คสปิน (backspin) กล่าวคือหมุนย้อนไปข้างหลังขณะที่ลูกเคลื่อนที่ไปยังห่วง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกกระดอนออกจากห่วงหลังจากการกระทบ ผู้เล่นส่วนมากชู้ตไปยังห่วงตรง ๆ แต่ในบางครั้งผู้ชู้ตอาจต้องชู้ตให้กระดอนกับแป้นแทน
วิธีการชู้ตที่ใช้บ่อยสุด ได้แก่ เซ็ตช็อต (set shot) และ จัมพ์ช็อต (jump shot) เซ็ตช็อตคือการชู้ตขณะที่ทั้งสองเท้ายังอยู่ติดพื้น ใช้ในการชู้ตฟรีโทรว์ ส่วนจัมพ์ช็อต คือการชู้ตขณะที่กำลังกระโดดโดยปล่อยลูกขณะที่ตัวอยู่ตำแหน่งลอยตัวสูงสุด การชู้ตวิธีนี้ให้กำลังมากกว่าและชู้ตได้ไกล อีกทั้งสามารถกระโดดลอยตัวเหนือผู้เล่นที่ยืนตั้งรับได้ด้วย
ผู้เล่นที่ชู้ตเก่งนอกจากจะมีสัมผัส
การทรงตัว ความกล้า และการฝึกฝนที่ดีแล้ว ยังต้องรู้จักเลือกโอกาสการชู้ตอีกด้วย
ผู้เล่นระดับแนวหน้ามักชู้ตไม่พลาดเมื่อไม่มีผู้เล่นอื่นมาประกบ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)