ประวัติกีฬาบาสเกตบอลในประเทศ





ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน
อย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายนพคุณ
พงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษ
 
เป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
 

       พ.ศ ๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้น
 
เป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา

       พ.ศ ๒๔๙๕ ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และ
การแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป

     พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๙๖
      ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษา
 
คือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลา
 
องค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่
 
สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร
การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป
 

ประโยชน์ของการเล่นกีฬาบาสเกตบอล

การเล่นกีฬาบาสเกตบอลเป็นการเล่นหลายคนและเล่นด้วยความรวดเร็วต้องใช้ความ
คล่องตัว สูงในสนามที่มีเนื้อที่จำกัด ะนั้นผู้เล่นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ซึ่งอาจเกิดขึ้น
ได้ตลอดเวลาของการเล่นเพื่อความปลอดภัยในการ เล่นกีฬาบาสเกตบอล ผู้เล่นจึงควรมีหลัก
ปฏิบัติดังต่อไปนี้
     ๑. ควรมีสภาพร่างกายพร้อมที่จะเล่น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอันตรายจากการออก
กำลังกาย
      ๒. ก่อนการเล่นควรตรวจสภาพของสนามให้เรียบร้อยมั่นคง แข็งแรง พื้นสนามต้องเรียบ
ไม่ลื่น ไม่มีหลุม บ่อ ไม่มีสิ่งกีดขวาง เสาและห่วงประตูอยู่ในสภาพใช้งานได้
     ๓. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นบาสเกตบอล สวมเสื้อ กางเกง ถุงเท้า
รองเท้า ที่ไม่หลวม หรือคับเกินไป
 
     ๔. ลูกบอลต้องไม่อ่อน หรือแข็งเกินไป
     ๕. ในการเล่นต้องปฏิบัติตามกติกาโดยเคร่งคัด ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งเพื่อนระหว่าง
การเล่นหรือขณะฝึกซ้อม
 
     ๖. ไม่เล่นหรือฝึกซ้อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกาย
     ๗. ตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้เล่นอื่น และเพื่อป้องกันอันตรายขณะ
รับลูกบอล
     ๘. ควรฝึกจากทักษะที่ง่าย ไปหาทักษะที่ยาก หรือฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
     ๙. ไม่เล่นในที่มืด หรือแสงสว่างไม่เพียงพอ
     ๑๐.ไม่ควรฝึกในสนามกลางแจ้ง แดดร้อนจัด หรือฝนตกฟ้าร้อง
     ๑๑.ไม่ใส่เครื่องประดับเช่น นาฬิกา แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอหรือเข็มขัด เพราะจะเป็น
อันตรายแก่ตนเอง และผู้อื่นได้
     ๑๒.ไม่ควรใส่แว่นตาระหว่างการเล่น ถ้าจำเป็นควรใช้แว่นที่เป็นพลาสติก หรือชนิดที่ไม่
แตก และให้มียางรัดติดกับท้ายทอยด้วย
     ๑๓.ในกรณีที่จะมีการแข่งขัน ควรฝึกซ้อมให้ร่างกายมีสมรรถภาพดีพร้อมที่จะเข้า
แข่งขันได้
     ๑๔.ถ้าตนเองไม่ได้ฝึกซ้อม หรือฝึกซ้อมไม่เพียงพอไม่ควรลงแข่งขันโดยเด็ดขาด
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น